Home > รายงานพิเศษ > เฉลิมฉลองสาธารณรัฐประชาชนจีนสถาปนาครบรอบ 60 ปี
คนจีนโชว์ฟอร์ม "บุคลิกภาพ" บนอินเตอร์เน็ต
2009-09-23 18:12

พร้อม ๆ กับความเจริญก้าวหน้าทางอินเตอร์เน็ต การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่กำลังเกิดขึ้นที่ประเทศจีน – คนจีนนับวันมากขึ้นเริ่มแสดงบุคลิกภาพบนอินเตอร์เน็ตและแสวงหาการยอมรับ ซึ่งพวกเขาเหล่าในอดีตเคยเป็นคนขี้อายแม้กระทั่งการจะเอ่ยปากพูดคำว่า “หว่อ” (ผม / ดิฉัน)

ตั้งแต่จีนเข้าร่วมเครือข่ายอินเตอร์เน็ตทั่วโลกอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 เมษายน 1994 เป็นต้นมา ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตซึ่งเริ่มจากนักวิทยาศาสตร์พันกว่าคนในตอนแรกแพร่สู่มหาชน จากรายงานที่ประกาศโดยศูนย์ข่าวสารอินเตอร์เน็ตแห่งประเทศจีนเมื่อเดือนกรกฏาคมปีนี้ปรากฏว่า จนถึงครึ่งปีแรกนี้ ปรเะเทศจีนมีชาวเน็ตทั้งหมด 338 ล้านคน ติดอันดับสูงสุดในโลก

นายหูชีเหิง ประธานกรรมการบริหารสมาคมอินเตอร์เน็ตแห่งประเทศจีนให้ความเห็นว่า อินเตอร์เน็ตได้อำนวยเวทีการแสดงออกและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นให้แก่คนจีนที่ชินกับความเงียบ ได้ช่วยส่งเสริมการพัฒนาจิตใต้สำนึกส่วนตัวและจิตใต้สำนึกความเป็นพลเมืองทางสังคมของพวกเขา และกำลังผลักดันความก้าวหน้าของสังคมจีน

นางสาวจางเจ๋ที่ใช้ชีวิตในเมืองฉงชิ่ง เป็นหนึ่งในชาวเน็ตจำนวนมหาศาลของจีน เว็บไซต์ที่จางเจ๋เข้าบ่อยที่สุดคือ เทียนหยาลุ่นฐาน (ฟอรั่มขอบฟ้า) ส่วนหน้าเว็บ “เทียนหยาจ๋าฐาน” (โจษจันขอบฟ้า) ที่โฟกัสประเด็นร้อนปัญหาชีวิตประชาชนทางสังคมเป็นหน้าเว็บที่เธอชอบที่สุด เวปไซต์“เทียนหยา” (ขอบฟ้า) ที่สร้างขึ้นเมื่อปี 1999 เป็นหนึ่งในชุมชนอินเตอร์เน็ตที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของจีน “เทียนหยาจ๋าฐาน” (โจษจันขอบฟ้า) มีผู้เข้าเยี่ยมชมนับร้อยล้านครั้งต่อเดือน นับเป็นฟอรั่มแสดงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนที่ใหญ่ที่สุดของจีน เสี่ยวตั่ง เจ้าของเว็บกล่าวว่า สาเหตุที่เว็บนี้ได้รับความนิยมมากก็เพราะว่า “ทุกคนต่างสามารถแสดงความคิดเห็นของตนเอง เปิดอภิปราย กระทั่งถกเถียงกันได้บนเวทีแลกเปลี่ยนที่เปิดกว้างแห่งนี้” เขากล่าวว่า “สำหรับพวกเราแล้ว การแสดงออกถูกมองว่าเป็นสิทธิและหน้าที่ความรับผิดชอบชนิดหนึ่ง อินเตอร์เน็ตได้กระตุ้นให้พวกเราเกิดความรับผิดชอบในฐานะพลเมืองทางสังคม ผมต้องการพูดในสิ่งที่ผมคิด”

แต่ในขณะเดียวกัน เสี่ยวตั่งขอต่อต้านการใช้คำพูดที่ไร้ความรับผิดชอบ และการกระทำในสิ่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและกฎระเบียบ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นแต่ตนเองได้รับผลประโยชน์จากอินเตอร์เน็ต “เสียงที่แสดงออกในโลกอินเตอร์เน็ตจากชาวเน็ตที่รับผิดชอบจริง ๆ เป็นเสียงที่มีเหตุผล เป็นภววิสัยและเป็นความจริง” เขากล่าว

ปี 1994 นายหูชีเหิง พยานคนสำคัญของประวัติศาสตร์การพัฒนาอินเตอร์เน็ตของจีน ที่ดำรงตำแหน่งรองประธานสภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีนในขณะนั้น ในฐานะตัวแทนของฝ่ายจีน ได้ยื่นขอเข้าร่วมอินเตอร์เน็ตต่อกองทุนวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา และได้รับการอนุมัติ ซึ่งทำให้ประเทศจีนได้เข้าร่วมระบบอินเตอร์เน็ตโลกในทั่วทุกด้าน

นายหูชีเหิงกล่าวว่า อินเตอร์เน็ตกำลังปั้นคนจีนรุ่นใหม่ พวกเขาจะแตกต่างกับรุ่นพ่อแม่ โดยเผชิญหน้ากับความสนใจส่วนตัวและแนวโน้มทางสังคม พวกเขามีอิสรภาพมากยิ่งขึ้นที่จะแสวงหาความสนใจส่วนตัว ซึ่งปรากฎการณ์ทำนองเดียวกันก็เคยเกิดขึ้นที่สหรัฐอเมริกาเมื่อทศวรรษปี 1960 และ ทศวรรษปี 1970 แต่ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นและพัฒนาอย่างรวดเร็วยิ่งกว่าที่ประเทศจีน

“ประชาชาติหนึ่งถ้าคิดจะเป็นประชาชาติที่ยิ่งใหญ่ที่มีความคิดสร้างสรรค์ ก็ต้องส่งเสริมการแสดงออกทางบุคลิกภาพ อินเตอร์เน็ตกำลังเร่งให้เกิดการพัฒนาอย่างยิ่งยวดของบุคลิกภาพคนจีน” เขากล่าว

นายกัวเหลียง รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการพัฒนาทางสังคมของสภาวิทยาศาสตร์สังคมแห่งประเทศจีนให้ความเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้เกิดจากการเปิดสู่ภายนอกและการพัฒนาของสังคมจีน อินเตอร์เน็ตเป็นเพียงเวทีหนึ่งที่สะท้อนการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ และเป็นปัจจัยกระตุ้นข้อหนึ่งที่เร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาสิ่งเหล่านี้เท่านั้น

Suggest To A Friend:   
Print