Home > รายงานพิเศษ > เฉลิมฉลองครบรอบ62ปีเเห่งการสถาปณาสารารณรัฐประชาชนจีน
พัฒนาการของทิเบต
2011-09-27 15:14

เขียนโดย หลิวกาง, เต๋อจ็ (สำนักข่าวพิเศษแห่งประเทศจีน)

       60 ปีที่ผ่านมา ทิเบตเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกฟ้าพลิกแผ่นดิน เศรษฐกิจและสังคมในแขนงงานต่าง ๆ ล้วนได้รับการพัฒนาอย่างใหญ่หลวง

       ผลการสำรวจประชากรแห่งประเทศจีนครั้งที่ 6 ซึ่งประกาศล่าสุดในปีนี้ ปรากฏว่า ประชากรของทิเบตมีมากกว่า 3 ล้านคน โดย 90.48% เป็นชาวทิเบต 1.35% เป็นประชากรชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ และประชากรชาวฮั่นมี8.17%

      ทิเบตได้สร้างเครือข่ายการบริการทางการแพทย์ขั้นพื้นฐานที่ครอบคลุมทั่วทิเบตเรียบร้อยเเล้ว อายุเฉลี่ยของชาวทิเบตได้เพิ่มจาก 35.5 ปีก่อนได้รับการปลดแอก มาเป็น 67 ปี อัตราการเสียชีวิตจากการคลอดลูกได้ลดจาก 5,000 ต่อ 1 แสนคนในช่วงได้รับการปลดแอกใหม่ ๆ ลงมาเป็น 174.78 คนต่อ 1 แสนคน

      รัฐบาลจีนมีความมุ่งมั่นในการก่อสร้างทางหลวงและสนามบิน เพื่อปรับปรุงสภาพการคมนาคมที่ล้าหลังของทิเบต ผลสำเร็จที่ได้รับความสนใจจากทั่วโลก ก็คือ การเปิดเดินรถของเส้นทางรถไฟชิงไห่-ทิเบต เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2549 "เส้นทางสู่สวรรค์" สายนี้ได้ลดระยะเวลาการเดินทางจากปักกิ่งถึงลาซาเหลือเพียง 40 กว่าชั่วโมงเท่านั้น

      ทางรถไฟชิงไห่-ทิเบตได้ลดช่องว่างระหว่างชาวทิเบตกับโลกภายนอกให้น้อยลง สำหรับเด็ก ๆ มากมายเหล่านั้น ความฝันที่จะได้ไปเรียนหนังสือที่แดนไกลจึงไม่ใช่สิ่งที่ไกลเกินเอื้อมอีกแล้ว

      พ.ศ. 2494 ทิเบตไม่มีโรงเรียนสมัยใหม่แม้แต่แห่งดียว การเรียนหนังสือจึงเป็นสิ่งผูกขาดโดยวัด เด็กวัยเรียนมีอัตราการเข้าเรียนไม่ถึง 2% อัตราคนไม่รู้หนังสือสูงถึง 95% แต่ปัจจุบันนี้ อัตราการเข้าเรียนของเด็กวัยเรียนประถมของทิเบตมีถึง 99.2% แล้ว อัตราคนไม่รู้หนังสือในกลุ่มวัยหนุ่มสาวลดลงเหลือเพียง 1.2%

      ประชาชนชาวทิเบตมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันนี้ "กินดีเกินไป" ได้กลายเป็นปัญหาอย่างหนึ่งที่น่าเป็นห่วงของชาวทิเบตบางคนมาแล้ว นับวันยิ่งมีชาวทิเบตที่ให้ความสนใจในการออกกำลังกายและการพิถีพิถันเรื่องระเบียบการกินมากยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันและรักษา "โรคคนรวย" เช่น ไขมันตับ ไขมันในเส้นเลือดสูงเป็นต้น

      จากสถิติปรากฏว่า ปัจจุบันนี้ ทิเบตมีสถานที่ทำกิจกรรมทางศาสนาทั้งหมด 1,700 กว่าแห่ง โดยมีพระภิกษุและภิกษุณีประจำวัด ประมาณ 4.6 หมื่นคน ทุก ๆ ปี ศาสนิกชนทั้งพระภิกษุ ภิกษุณี และบุถุชน มีการจัดและเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาและกิจกรรมตามประเพณี เช่น เทศกาลโชตัน (Yogurt Festival) เป็นต้น ประชาชนที่ไปนมัสการและบูชาพระที่เมืองลาซามากกว่าหนึ่งล้านคนต่อปี

      60 ปีมานี้ รัฐบาลกลางได้ลงทุนมากกว่า 1,000 ล้านหยวนเพื่อบูรณปฏิสังขรณ์วังบูตารา วัตต้าเจา และโบราณสถานอื่น ๆ รายการทางวัฒนธรรม 61 รายการของทิเบต รวมทั้ง หัตถกรรมโบราณ วิจิตศิลป์ภาคประชาชน งิ้วทิเบต เป็นต้น ได้รับการคัดเลือกจัดเข้าไปในรายชื่ออนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุแห่งประเทศจีน

      60 ปีมานี้ ทิเบตได้ประสบความสำเร็จอันยึ่งใหญ่ที่ดึงดูดสายตาทั่วโลก แต่ยังคงต้องเผชิญหน้ากับปัญหาสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ทิเบตยังคงเป็นมณฑลหนึ่งที่ล้าหลังที่สุดของจีน ถึงแม้รายได้สุทธิเฉลี่ยต่อคนของชาวนา ชาวปศุสัตว์ทิเบตได้เพิ่มสูงขึ้นเป็น 4,138 หยวนใน พ.ศ. 2553 ก็ตาม แต่ตัวเลขนี้ยังคงมีช่องว่างพอสมควร เมื่อเทียบกับรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปีของประชากรในชนบทที่มี 5,919 หยวนในปลายช่วงที่ดำเนินแผนการพัฒนาฯ 5 ปีฉบับที่ 11

      นายจงบู ชิเรินโตเจ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยุคปัจจุบันของสภาวิทยาศาสตร์สังคมเขตปกครองตนเองทิเบตให้ความเห็นว่า ทิเบตต้องการการพัฒนา "แบบก้าวกระโดด" ครั้งหนึ่ง นายจงบูตอบคำถามของลูกศิษย์ชาวฝรั่งเศสว่า "พวกคุณชาวฝรั่งเศสใช้ชีวิตสมัยใหม่ ทำไมพวกเราชาวทิเบตต้องใช้ชีวิตอยู่ในพิพิธภัณฑ์ล่ะ" (จบบริบูรณ์)

Suggest To A Friend:   
Print