Home > คอลัมน์ท่านเอกอัครราชทูต
จีนและไทยลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมว่าด้วยความร่วมมืออาชีวศึกษาในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษกรอบความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง
2019-11-26 16:05

วันที่ 25 พฤศจิกายน ที่กรุงเทพฯ ฯพณฯหลู่ย์ เจี้ยน เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย และนางสาวดุริยา อมตวิวัฒน์ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมว่าด้วยความร่วมมืออาชีวศึกษาในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษกรอบความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง โดยมีตัวแทนจากสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และสถานทูตประเทศสมาชิกล้านช้าง-แม่โขงประจำประเทศไทยเข้าร่วมในพิธีลงนาม

เอกอัครราชทูตหลู่ย์ เจี้ยนกล่าว์ว่า ความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขงให้ความสำคัญกับการพัฒนาของประเทศสมาชิกในอนาคต และมุ่งเน้นการสร้างประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมให้กับประชาชน ในระหว่างการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือล้านช้าง- แม่โขงครั้งที่ 2 นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียงได้ชี้ให้เห็นว่า การเร่งพัฒนาประเทศและการกำจัดความยากจนของประเทศล้านช้าง- แม่โขงจำเป็นต้องอาศัยการศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ โดยต้องเปลี่ยนข้อได้เปรียบด้านประชากรให้เป็นข้อได้เปรียบด้านทรัพยากรมนุษย์ ประเทศจีนยินดีที่จะเสริมสร้างความร่วมมือด้านทรัพยากรมนุษย์กับประเทศล้านช้าง- แม่โขง เพื่อช่วยฝึกอบรมบุคลากรที่มีความสามารถทุกระดับในการพัฒนาประเทศ เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียงเดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการและได้พบกับนายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา ทั้งสองตกลงที่จะเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาและการฝึกอบรมบุคลากร กระทรวงศึกษาธิการของไทยจะใช้กองทุนพิเศษความร่วมมือล้านช้าง- แม่โขงเพื่อจัดการฝึกอบรมด้านเทคนิคและอาชีวศึกษาทางรถไฟระหว่างจีน ไทย และลาว เพื่อสำรองบุคคลากรสำหรับความร่วมมือในอนาคต จีนยินดีที่จะร่วมมือกับไทยในการใช้ประโยชน์จากความร่วมมือล้านช้าง- แม่โขง เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาและการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างหลักประกันในด้านทรัพยากรมนุษย์อย่างเพียงพอสำหรับการก่อสร้างแถบเศรษฐกิจล้านช้าง- แม่โขง อันเป็นการนำความสุขให้กับผประชาชนในภูมิภาคนี้มากยิ่งขึ้น

นางสาวดุริยา อมตวิวัฒน์ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการกล่าวว่า ความร่วมมือล้านช้าง- แม่โขงมุ่งมั่นที่จะลดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนของประเทศต่างๆในอนุภูมิภาค ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในท้องถิ่น และสร้างชุมชนแห่งโชคชะตาร่วมกันของสมาชิกล้านช้าง- แม่โขงที่มีความสันติและเจริญรุ่งเรือง การจ้างงานที่ไม่เพียงพอเป็นความท้าทายหลักที่ประเทศล้านช้าง- แม่โขงกำลังเผชิญอยู่ รัฐบาลไทยได้กำหนดนโยบาย"Thailand 4.0" เพื่อส่งเสริมการจัดหาแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการในการพัฒนาเศรษฐกิจมากขึ้น ขณะเดียวกันยังได้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีเพื่อปรับปรุงโครงสร้างและยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจ ขอขอบคุณฝ่ายจีนที่สนับสนุนเงินทุนเพื่อการศึกษาและการฝึกอบรมด้านอาชีวศึกษา เชื่อว่าโครงการความร่วมมืออาชีวศึกษาภายใต้กองทุนพิเศษความร่วมมือล้านช้าง- แม่โขงนี้ จะช่วยยกระดับอาชีวศึกษาในประเทศที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับปูพื้นฐานที่มั่นคงสำหรับการพัฒนาในอนาคตต่อไป

ความร่วมมือล้านช้าง- แม่โขงเป็นแพลตฟอร์มความร่วมมือแบบใหม่ในระดับอนุภูมิภาคที่ริเริ่มและสร้างขึ้นร่วมกันโดยจีน กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ ไทยและเวียดนาม เดือนมีนาคม พ.ศ. 2559 การประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือล้านช้าง- แม่โขง ครั้งที่ 1 จัดขึ้นที่ไหหลำ ทำให้เกิดกลไกความร่วมมือล้านช้าง- แม่โขงขึ้นอย่างเป็นทางการ ครั้งนั้น จีนได้ประกาศจัดตั้งกองทุนพิเศษความร่วมมือล้านช้าง- แม่โขง พร้อมจะเสนอเงิน 300 ล้านเหรียญสหรัฐภายในระยะเวลา 5 ปี เพื่อสนับสนุนโครงการความร่วมมือขนาดเล็กและขนาดกลางของสมาชิก 6 ประเทศ

Suggest To A Friend:   
Print